วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สัมภาษณ์พิเศษ: ‘พยุงศักดิ์-อุฬาร’เปิดศึกโต้วาทะปมร้อนแร่ใยหิน


 

สัมภาษณ์พิเศษ: 'พยุงศักดิ์-อุฬาร'เปิดศึกโต้วาทะปมร้อนแร่ใยหิน

 






ช่วงปลายปี 2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนที่มีส่วนได้เสีย หาข้อสรุปเรื่องการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาการทำข้อสรุป ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นจากประชาชนที่นำโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค นักวิชาการ และผู้ประกอบการ ซึ่งแต่ละฝ่ายได้ออกมาเคลื่อนไหวพร้อมแสดงข้อมูลที่ต่างกันสิ้นเชิง
          ฝ่ายเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเข้ายื่นหนังสือต่อกระทรวงอุตสาหกรรม อ้างผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกว่าเป็นอันตราย เพราะเป็นสารก่อมะเร็ง หากสะสมในร่างกาย และเรียกร้อง 3 เรื่อง คือ 1.ห้ามนำเข้าวัตถุดิบแร่ใยหินและสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบภายในระยะเวลา 3 เดือน 2.ห้ามผลิต จำหน่าย ส่งออก
          วัตถุดิบแร่ใยหินภายในระยะเวลา 6 เดือน และ3.ห้ามผลิต จำหน่าย ส่งออก สินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบภายในระยะเวลา 1 ปีสอดคล้องกับความเห็นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่เรียกร้องให้เลิกใช้ประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่เรียกร้องให้เลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เช่นกัน โดยพยายามทำหนังสือถึงกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2550 ขอให้กระทรวงจัดให้แร่ดังกล่าวอยู่ในบัญชีวัตถุอันตราย ชนิด 4 คือ ห้ามผลิต จำหน่าย นำเข้าและครอบครอง
          ส่วนผู้ประกอบการที่มีความเห็นต่าง นำโดยบริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด ระบุว่า ตลอดระยะเวลานานกว่า 30 ปีที่มีการนำเข้าใยหินมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทย ยังไม่เคยมีการรายงานผู้ป่วยด้วยโรคเหตุแร่ใยหินที่มีหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือยืนยันเลย โดยรวมตัวกับบริษัท กฤษณ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด บริษัทกระเบื้องหลังคาตราเพชร จำกัด (มหาชน) ส่งหนังสือถึงนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่า
          การกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อขอให้มีการใช้แร่ใยหินต่อ โดยอ้างผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลว่าการใช้สินค้าที่มีแร่ใยหินไม่เกิดอันตรายกับผู้บริโภค
          ล่าสุด วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ครม.เห็นชอบแนวทางแก้ปัญหาเรื่องแร่ใยหินตามข้อเสนอของกลุ่มสมัชชาสุขภาพ และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเลือกแนวทางห้ามนำเข้าแร่ใยหินมากรรม โดยเลือกแนวทางห้ามนำเข้าแร่ใยหินมาผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ แต่ยังนำเข้าหรือผลิตสินค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้แร่ใยหินได้
          และสามารถกำหนดประเภทของโรงงานที่อนุญาตให้ใช้แร่ใยหินได้ แต่สินค้าบางชนิดอาจสูงขึ้น ซึ่งจะดำเนินการลดการใช้แร่ใยหินได้ภายใน 1 ปี
          แต่มติ ครม.ระบุเพิ่มเติมว่า แนวทางดังกล่าวจะบังคับใช้ภายหลังกระทรวงอุตสาหกรรม โดยตลท.ชี้เงินนอกเข้าไทยมากสุดกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และกระทรวงที่เกี่ยวข้องจัดประชุมหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่มีการใช้แร่ใยหินและสารทดแทน รวบรวมข้อมูลสินค้าที่ใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบทั้งหมด และศึกษาแนวทางการใช้แร่ใยหินของต่างประเทศ
          ประเด็นนี้ไม่จบง่ายๆ แน่ เพราะกระทรวงอุตสาหกรรมยอมรับว่าข้อมูลสนับสนุนหลังจากนี้ต่างหากที่จะชี้นำว่า สถานะของแร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป
          "มติชน" ได้สัมภาษณ์นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และนายอุฬาร เกรียวสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด ซึ่งทั้ง 2 เป็นแกนหลักในการต่อต้านและสนับสนุนการใช้แร่ใยหิน เพื่อให้รับทราบเหตุผลของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจนตลท.ชี้เงินนอกเข้าไทยมากสุด
          อุฬาร เกรียวสกุล
          กรรมการผู้จัดการ บริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด
          oจุดยืนของบริษัทต่อแร่ใยหินไครโซไทล์
          อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า แร่ใยหินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ Anthibol ที่มีสารเคมีอันตราย 5 ชนิด เมื่อเข้าร่างกายจะตำเยื่อหุ้มปอด สาเหตุของโรคมะเร็ง และ Serpertine ที่มีสารไครโซไทล์ เข้าร่างกายแล้วย่อยสลายได้ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความเกี่ยวข้องทางโครงสร้างเคมี เปรียบเหมือนเห็ดมีพิษ กับเห็ดฟางนอกจากนี้ สมัชชาอนามัยโลก (WHA) ซึ่งใหญ่กว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) มีมติเมื่อปี2550 ว่าไครโซไทล์สามารถใช้ได้ ไม่เป็นอันตราย ดังนั้น หากสำรวจการใช้ไครโซไทล์ในต่างประเทศจะพบว่า สหรัฐอเมริกาแคนาดา และญี่ปุ่น ยังอนุญาตให้ใช้อยู่ แต่มีเพียงสหภาพยุโรปที่ห้าม โดยระบุว่าไครโซไทล์เป็นกลุ่มเดียวกับสารเคมีอันตราย 5 ชนิด
          ด้วยข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลต่างประเทศ บริษัทจึงยังยืนว่าไครโซไทล์มีความจำเป็นต่อประเทศไทย และไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน และสัดส่วนการใช้เพียง 10% ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เช่นเดียวกับวารสารทางการแพทย์ของ นายแพทย์สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถานระบุว่าไครโซไทล์ใช้ในประเทศไทยมากว่า 70 ปี แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งoแต่กลุ่มสมัชชาสุขภาพและ ส.อ.ท.ต่อต้าน
          ที่ผ่านมากลุ่มที่ต่อต้านไม่เคยนำเสนอหลักฐานทางการแพทย์ได้เลย และเคยยอมรับว่าไม่พบผู้ป่วยโดยตรง แต่ออกมาต่อต้านเพราะความกลัว
          oเรื่องนี้จริงๆแล้วใครได้หรือเสียประโยชน์
          ในเชิงผลประโยชน์ แน่นอนบริษัทใหญ่รายหนึ่งที่พยายามผลักดันวัสดุทดแทนไครโซไทล์ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ตัวเองขายดี และอยากครองตลาดทั้งหมด ดังนั้น จึงร่วมมือกับกลุ่มสมัชชาสุขภาพต่อต้าน ที่บอกว่าบริษัทนี้ได้ประโยชน์เพราะการใช้วัสดุทดแทน ซึ่งปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ เยื่อกระดาษและใยสังเคราะห์พลาสติค มีราคาแพงกว่าไครโซไทล์2 เท่าตัว แต่ความคงทนน้อยกว่า 3 เท่าตัว ดังนั้น หากใช้วัสดุทดแทนครองตลาด จะเพิ่มยอดขายและยอดจำหน่ายอย่างมากoบริษัทจะดำเนินการอย่างไร เพราะครม.เห็นชอบแนวเลิกผลิตและนำเข้าไครโซไทล์บางชนิด และให้ลดการใช้ภายใน 1 ปี
          ระหว่างที่ ครม.พิจารณาเรื่องนี้มีมติที่แอบแฝงอย่างมาก เพราะกลุ่มสมัชชาสุขภาพรู้ดีว่าราคาวัสดุทดแทนสูงกว่าไครโซไทล์มากจึงเสนอ 2 ทาง คือ ให้ ครม.ใช้เงินภาษีประชาชนมาอุดหนุน เพื่อขายแก่ประชาชนในราคาถูก เปรียบแล้วก็เหมือนบริษัทใหญ่ล้วงเงินในกระเป๋ารัฐบาล ซึ่งเป็นของประชาชนเพื่อฆ่าบริษัทเล็ก หรือแนวทางลดภาษีให้ราคาถูกลง
          เวลานี้สิ่งที่บริษัททำได้คือ พยายามสื่อสารกับรัฐให้มีความรอบคอบในเรื่องนี้ ซึ่งหากกระทรวงอุตสาหกรรมใจกว้างพอ และตั้งคณะทำงานศึกษาที่เป็นนักวิทยาศาสตร์จริงๆ รวมทั้งศึกษาแนวทางของต่างประเทศอย่างจริงจังบริษัทจะเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะอยากให้ประเทศตัดสินแร่ไครโซไทล์ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าความรู้สึกแบบนี้
          พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล
          ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
          oจุดยืนของ ส.อ.ท.ต่อแร่ใยหินไครโซไทล์แร่ใยหินถือเป็นวัตถุอันตราย ส่งผลเสียด้านสุขภาพ เท่าที่ทราบใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิ หลังคา กระเบื้อง ฉนวนความร้อน และหลายประเทศที่พัฒนาเลิกใช้แล้ว โดยผลขององค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุชัดว่ามีผลต่อสุขภาพ ซึ่งจุดยืนของ ส.อ.ท.ควรยกเลิกไปและใช้วัสดุอื่นมาแทน
          o เคยเสนอความเห็นไปยังรัฐบาลหรือไม่
          เมื่อ 4 ปีที่แล้ว สมัยที่เป็นรองประธานส.อ.ท.ได้หารือกับผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งยื่นหนังสือเสนอให้ไทยเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ต่อกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะผลการศึกษาจำนวนมากระบุว่าอันตราย โดยขอเวลาปรับตัวเป็นเวลา 5 ปี  เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และการลงทุน แต่ก็เข้าใจว่าเรื่องนี้ในไทยยังมีข้อถกเถียงอยู่ แต่ในเมื่อต่างประเทศยกเลิก ประเทศไทยก็ควรทำแบบนั้นด้วย
          oขณะนี้มีรายใดยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์
          เท่าที่ทราบมีบริษัท กระเบื้องตลาดไทยหรือห้าห่วง กับเครือเอสซีจี แต่ขณะนี้มีบางบริษัทซึ่งเป็นสมาชิก ส.อ.ท.ยังไม่เลิก ซึ่งมติของ ส.อ.ท.ก็ชัดเจนว่าเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ ถือเป็นสัญญาประชาคมว่า ผู้ประกอบการจะเลิกภายใน 5 ปี อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าการที่บางบริษัทต้องการใช้แร่ดังกล่าวอยู่เป็นเรื่องไม่ควร เพราะสภาวะปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยนได้ เพราะมีวัสดุทดแทนอยู่แล้ว เช่น Cellulose fibers,p-aramid, Polyvinyl Alcohol (PVA) และPolyacrylonitrile(PAN) 3
          o เพราะอะไรผู้ประกอบการบางรายคัดค้าน
          ผมเชื่อว่าผู้ประกอบการบางรายที่ยังต้องการใช้แร่ดังกล่าวอยู่ เพราะเอ็นจอย(เพลิดเพลิน) เนื่องจากเป็นผู้ผลิตส่วนน้อยที่ครองตลาดผลิตภัณฑ์ที่ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์oแร่ใยหินไครโซไทล์ควรถูกบรรจุในวัตถุอันตราย ชนิด 4 หรือไม่
          ถ้าควรเลิกก็ควรอยู่ในบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 คือ ไม่ควรมีอยู่ในไทยเลย เพราะเป็นเรื่องจำเป็นของประเทศ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผู้ประกอบการต้องเห็นแก่ประโยชน์ประชาชน และต่างประเทศยกเลิกได้ ทำไมไทยจะทำไม่ได้

  • มติชน ฉบับวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554
  • หน้า: 1 (บน), 7 Ad Value: 172,018 PRValue (x3): 516,054
  • 20110423_659_HA_Matichon

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น