วันอาทิตย์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2554

108 ปีอาคารไทย-จีน สู่ภัตตาคารบลูเอเลเฟ่นท์


 
วันที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554 ปีที่ 21 ฉบับที่ 7564 ข่าวสดรายวัน


108 ปีอาคารไทย-จีน สู่ภัตตาคารบลูเอเลเฟ่นท์


สาวิตรี เฉลิมจิระรัตน์


ท่ามกลางตึกระฟ้าและอาคารสำนักงานที่ผุดขึ้นมาเป็นดอกเห็ดบนถนนสาทร ย่านธุรกิจที่ค่าเช่าที่ดินแพงระยับ ใจกลางกรุงเทพฯ ยังมีตึกเก่าแก่ที่เต็มเปี่ยมด้วยเสน่ห์ทางประวัติศาสตร์และสถาปัตยกรรมแฝงตัวอยู่ด้วย

ตึกที่กล่าวถึงนี้ ใครเดินผ่านจะต้องสะดุดตา เพราะตัวอาคารสร้างตามแบบสถาปัตยกรรมโคโลเนี่ยล ตั้งอยู่ฝั่งสาทรใต้ ตรงบริเวณทางขึ้น-ลง สถานีรถไฟฟ้าสุรศักดิ์ มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า อาคารไทย-จีน เป็นทรัพย์สินของสภาหอการค้าไทย-จีน

ดูเผินๆ อาจคิดว่าเป็นตึกใหม่ เพราะได้รับการบูรณะซ่อมแซมตลอดเวลา เวลานี้ยังเห็นนั่งร้านติดตั้งอยู่ แต่แท้จริงตึกนี้มีอายุเก่าแก่ระดับคุณทวด เพราะปาเข้าไป 108 ปีแล้ว

เจ้าของตึกคนแรกเป็นชาวอินเดีย สร้างขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2446 เพื่อเป็นห้างสรรพสินค้าบอมเบย์ โดยตั้งอยู่ใกล้กับโรงแรมโอเรียนเต็ล และโรงแรมเดอะ รอยัล (สถานทูตรัสเซียในปัจจุบัน)

ต่อมาในปีพ.ศ.2471 สภาหอการค้าไทย-จีน ซึ่งก่อตั้งโดยกลุ่มมหาเศรษฐีชาวจีนในเมืองไทย ได้ซื้ออาคารหลังนี้ไว้เป็นกรรมสิทธิ์ และพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาอาคารดังกล่าวให้เป็นที่ตั้งสำนักงานใหญ่ของสภาหอการค้าไทย-จีน

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อาคารแห่งนี้กลายสภาพเป็นศูนย์บัญชาการของกองทัพญี่ปุ่น เมื่อสงครามยุติจึงกลับมาเป็นสำนักงานใหญ่ของสภาหอการค้าไทย-จีน อีกครั้ง กระทั่งสภาหอการค้าสร้างอาคารหลังใหม่ คือ อาคารไทยซีซี จึงย้ายที่ทำการไปอยู่ที่นั่น ส่วนอาคารหลังนี้ปล่อยให้เช่า

ผู้ที่ได้ครอบครองตึกเวลานี้คือ ภัตตาคาร ′บลู เอเลเฟ่นท์′ ภัตตาคารไทย-จีน ในเครือบริษัทบลู เอเลเฟ่นท์ กรุ๊ป ซึ่งมีชื่อเสียงเรื่องอาหารไทยที่โด่งดังในต่างประเทศ ตัวตึกสูง 3 ชั้น ไม่รวมห้องใต้หลังคา ผนังก่ออิฐถือปูน พื้นและฝ้าเพดานเป็นไม้สักทั้งหมด ภายในร้านตกแต่งแบบไทยๆ มีเครื่องเรือนไม้และประติมากรรมไม้แกะสลักประดับตามมุมต่างๆ

1.บรรยากาศภายในร้าน

2.บาร์เครื่องดื่ม

3.โถงบันได

4.บรรยากาศภัตตาคารบลู เอเลเฟ่นท์ 



โครงสร้างทั้งหมดของตึกยังคงแบบเดิมไว้ไม่เปลี่ยนแปลง เพราะได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นอาคารอนุรักษ์ อยู่ในความดูแลของกรมศิลปากร ที่มีเงื่อนไขห้ามทุบทิ้ง และต่อเติม ดัดแปลง

หากใครพอมีกำลังทรัพย์ ลองหาโอกาสเข้าไปสัมผัสบรรยากาศและลิ้มรสอาหารกันดู เพราะปัจจุบันลูกค้าที่รู้จักเสน่ห์ของที่นี่ส่วนใหญ่เป็นชาวต่างประเทศ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจใหญ่ๆ ที่เชิญลูกค้ามารับรอง รวมไปถึงกรุ๊ปทัวร์และลูกค้าชาวไต้หวัน

นูรอ โซ๊ะมณี สเต็ปเป้ หนึ่งในผู้ก่อตั้ง บลู เอเลเฟ่นท์ กรุ๊ป ร่วมกับสามีและหุ้นส่วนอีก 2 คน ถ่ายทอดเรื่องราวก่อนที่บลู เอเลเฟ่นท์ ...........จะได้ตึกเก่าแก่ ทว่าเปี่ยมมนต์ขลังแห่งนี้ว่า คาร์ล สเต็ปเป้ สามีทำธุรกิจด้านศิลปวัตถุมาเห็นตึกหลังนี้ในช่วงที่ผู้เช่ารายก่อน ซึ่งเป็นร้านอาหารไทย-จีนเช่าอยู่ เห็นแล้วหลงใหลในสถาปัตยกรรมที่มีความเป็นไทยผสมผสานกับความเป็นสากล จึงติดต่อขอเป็นผู้เช่ารายใหม่ กระทั่งได้มาเปิดภัตตาคารบลู เอเลเฟ่นท์ ขึ้นที่นี่ โดยสองชั้นแรกทำเป็นห้องอาหาร ส่วนชั้น 3 เป็นโรงเรียนสอนทำอาหาร

นูรอ มาสเตอร์ เชฟของบลู เอเลเฟ่นท์ ที่สั่งสมประสบการณ์มานานร่วม 30 ปี กล่าวว่า ตนเป็นคนรักการทำอาหาร โดยเฉพาะอาหารไทย ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากแม่ นอกจากนี้ ยังเคยไปเป็นเชฟฝึกหัดที่ครัวในอินเดียจึงได้รับวัฒนธรรมอาหารของอินเดียมาด้วย ที่ผ่านมาเคยเป็นตัวแทนประเทศไทยนำอาหารไทย ไปโชว์ที่เทศกาลอาหารในต่างประเทศหลายครั้ง ทั้งในกรุงโตเกียวของญี่ปุ่นและนครเซี่ยงไฮ้ของจีน

1.ภายนอกของภัตตาคาร "บลู เอเลเฟ่นท์" 

2.เมนูน่ารับประทาน

3.เมนูบางส่วนภายในร้าน

4.ชิลลี่ เชอร์เบ็ต

5.นูรอ (ขวา)

6.แกงกุรุหม่าแกะ-ข้าวหมกแพะ

7.กุ้งผัดพริกเสฉวน



สำหรับ บลู เอเลเฟ่นท์ ร้านแรกเปิดที่กรุงบรัสเซลส์ ประเทศเบลเยียม เมื่อปีพ.ศ.2523 ได้รับการตอบรับจากลูกค้าชาวต่างชาติเป็นอย่างดี ปัจจุบันมีสาขาทั้งในยุโรป และตะวันออกกลาง อาทิ กรุงลอนดอน กรุงปารีส เมืองลีออง ดูไบ มอลตา กรุงจาการ์ตา ส่วนที่ประเทศไทย มีที่ ภูเก็ต สมุย และกรุงเทพฯ

นอกจากภัตตาคารบลู เอเลเฟ่นท์ ยังมีโรงเรียนสอนทำอาหารไทย ตั้งอยู่บนชั้น 3 ของอาคารไทย-จีน นักเรียนส่วนใหญ่เป็นเชฟและ ผู้ที่สนใจอาหารไทยทั่วไปทั้งชาวต่างชาติและชาวไทย ซึ่งมีติดต่อกันเข้ามาอย่างต่อเนื่อง

อาหารจานเด็ดของที่นี่เป็นอาหารไทยประยุกต์ ที่มีกลิ่นอายวัฒนธรรมจีน อินเดียและญี่ปุ่น อาทิ ต้มข่าไก่ ต้มยำกุ้ง แกงมัสมั่น แกงเขียวหวาน ตับห่านซอสมะขาม ยำมะเขือม่วงดอยคำ แกงปูใบชะพลู กุ้งแม่น้ำเผาจานร้อน ทั้งหมดใช้ผักผลไม้ปลอดสารพิษจากดอยคำ ผลิตผลจากโครงการหลวง

"คนต่างชาติชื่นชอบรสชาติอาหารไทยมาก อย่างที่กรุงจาการ์ตา คนชอบทานน้ำพริกลงเรือกับน้ำพริกกะปิ เราอยู่กับอาหารต้องเรียนรู้ตลอดเวลา ไม่ใช่ปิดตัวเองอยู่แต่ก้นครัว นอกจากภัตตาคารและโรงเรียน สอนทำอาหารแล้ว บลู เอเลเฟ่นท์ ยังมีโรงงานผลิตเครื่องแกงของตัวเองในชื่อ บลู สไปซ์ ที่ผลิตเครื่องแกง สมุนไพรแห้ง น้ำยำ ป้อนสาขาของ ตัวเอง รวมไปถึงร้านอาหารไทยที่อยู่ในต่างประเทศ" นูรอ กล่าว



ในโอกาสพิเศษที่อาคารไทย-จีน มีอายุครบรอบ 108 ปี ภัตตาคารบลู เอเลเฟ่นท์ ได้ร่วมเฉลิมฉลองวาระนี้ ด้วยการสร้างสรรค์เมนูพิเศษ "Thai-Chin Mansion" สำหรับเดือนสิงหาคมและกันยายนนี้

นูรอ กล่าวว่า "อาหารในเทศกาลนี้ตั้งใจให้สื่อถึงวัฒนธรรมอาหารประเทศของผู้ที่เคยครอบครองและประกอบธุรกิจในอาคาร ซึ่งมีทั้งอินเดีย ญี่ปุ่น จีน และไทย ออกมาเป็นเมนูอย่าง ยำไทย-จีน เช่น ยำแมงกะพรุน ที่ให้รสชาติกรุบกรอบจากเนื้อแมงกะพรุนใสเด้งคลุกเคล้าในน้ำยำที่ซึ่งมีรสชาติเผ็ดเปรี้ยวจัดจ้าน มีน้ำมันงาและขิง คล้ายๆ ยำเซี่ยงไฮ้ ซูชิกุ้งแม่น้ำพริกเผาปลาย่างที่หอมหวานน้ำพริกเผาแต่ปั้นข้าวในสไตล์ซูชิญี่ปุ่น โดยใช้ข้าวกล้องนึ่งเปลือกงอกซึ่งอุดมด้วยวิตามินและเป็นผลงานการวิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มาห่อด้วยผักกาดดองแบบทางเหนือ"

นอกจากนี้ ยังมีขนมจีบไส้ตับห่านและไก่ที่ให้กลิ่นอายความเป็นจีนแต่มีรสชาติของไส้ที่กลมกล่อมหอมมันตับห่าน ต้มยำโสมไก่ดำ บำรุงกำลังที่มีรสชาติเผ็ดร้อนให้ประโยชน์ต่อร่างกายจากโสมและเครื่องต้มยำทั้งขิง ข่า ตะไคร้และใบมะกรูด

เชฟนูรอ กล่าวว่า ทีเด็ดอยู่ที่น้ำซุปซึ่งได้จากการเคี่ยวโสมและไก่ดำประมาณ 2-3 ชั่วโมง

เมนูที่น่าสนใจยังมีอีก อาทิ กุ้งผัดพริกเสฉวน แกงกุรุหม่าแกะ เคบับไส้อั่วไก่ และเปาะเปี๊ยะซาโมซ่าผักรวม

ใครสนใจไปลิ้มลองรสชาติสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมและสำรองที่นั่งได้ที่โทร.0-2673-9353-8 หรืออีเมล์ cooking.school@blueelephant.com 


หน้า 21

http://goo.gl/XkgFH

นักวิจัยพัฒนารหัสและฐานข้อมูลยามาตรฐาน หวังช่วยคนไทยใช้ยาประหยัดและปลอดภัยขึ้น

 นักวิจัยพัฒนารหัสและฐานข้อมูลยามาตรฐาน  

หวังช่วยคนไทยใช้ยาประหยัดและปลอดภัยขึ้น

ยาเป็นหนึ่งในปัจจัยสี่ที่สำคัญของมนุษย์ และเป็นผลิตภัณฑ์หลักในโซ่อุปทานสุขภาพ ที่มีการไหลจากผู้ผลิตยา ผ่านผู้จัดจำหน่าย ผ่านโรงพยาบาล โดยการสั่งจ่ายยาของแพทย์ จนถึงผู้ป่วยได้รับเข้าสู่ร่างกายหรือใช้ยากับร่างกาย ปัญหาหลักที่เกี่ยวกับการใช้ยา รวมถึงมูลค่าการใช้ยาของประเทศไทยที่สูงปีละเกือบ 1.9 แสนล้านบาท (ข้อมูลปี 2552) และความผิดพลาดในการใช้ยา ทำให้ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งมี ดร.จิรพรรณ เลี่ยงโรคาพาธ เป็นหัวหน้าโครงการ เห็นความสำคัญและทำการศึกษาโซ่อุปทานในโรงพยาบาล และพบว่ามีการซ้ำซ้อนของกระบวนการและความพยายามเชื่อมโยงข้อมูลที่มีอยู่กันคนละระบบ จึงได้คิดแก้ปัญหาโดยพัฒนารหัสยามาตรฐานขึ้นเป็นอันดับแรก เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องในโซ่อุปทานเข้าถึงฐานข้อมูลเดียวกัน สื่อสารภาษาเดียวกัน

 

นอกจากนี้ ทีมวิจัยยังได้ดำเนินโครงการพัฒนาฐานข้อมูลยาระดับชาติที่มีระบบสืบค้นผ่านอินเทอร์เน็ต โดยเชื่อมโยงข้อมูลบางส่วนจากฐานข้อมูลที่มีอยู่ปัจจุบันที่เชื่อถือได้ เช่นhttp://www.yaandyou.net เพื่อให้เป็นฐานข้อมูลยาที่สมบูรณ์และทันสมัย ครอบคลุมผลิตภัณฑ์ยาแผนปัจจุบันทุกรายการที่มีอยู่ในประเทศไทย ซึ่งจะช่วยให้แพทย์ บุคลากรทางการแพทย์ และประชาชนทั่วไปเข้าถึงและใช้ประโยชน์ได้อย่างสะดวก ได้รับข้อมูลที่จำเป็นครบถ้วน เพื่อป้องกันความผิดพลาดจากการใช้ยา

 

ผลจากการพัฒนารหัสยามาตรฐานและฐานข้อมูลยา ได้นำมาสู่โครงการ "การประยุกต์ใช้รหัสยามาตรฐาน" โดยการสนับสนุนของสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ในปีงบประมาณ 2555 เพื่อนำผลจากสองโครงการนี้ไปใช้จริง และหาแนวทางเชื่อมโยงรหัสยามาตรฐานและฐานข้อมูลยาในกระบวนการทำงานของโรงพยาบาล เพื่อส่งเสริมให้เกิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลยา อันจะนำไปสู่ความปลอดภัยจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข โดยศึกษากระบวนการธุรกิจภายในโรงพยาบาล และค้นหาสิ่งที่ควรปรับปรุง ผลจากโครงการนี้จะนำไปสู่ข้อเสนอโครงการที่เป็นแผนงานระบบอัตโนมัติอุตสาหกรรมเพื่องานโลจิสติกส์ในโรงพยาบาล ที่ยื่นขอรับทุนวิจัยร่วมระหว่างสำนักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ (วช.) และ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ต่อไป

 

ในวันที่ 11 สิงหาคม 2554 นี้ จะมีการเสวนาเรื่อง "ปรับประบวนทัศน์โซ่อุปทาน สุขภาพโดยรหัสยามาตรฐาน เพื่อชี้แจงวิธีการและขั้นตอนการบันมึกข้อมูลยาลงในฐานข้อมูล ให้กับผู้ผลิตยาและผู้จัดจำหน่ายยา ที่จัดจำหน่ายให้แก่โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี โรงพยาบาลศรีนครินทร์ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ และโรงพยาบาลกรุงเทพ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้ลงนามประสานความร่วมมือกันเพื่อวิจัยและพัฒนารหัสมาตรฐานยาและเวชภัณฑ์ในห่วงโซ่อุปทานสาธารณสุข เชื่อว่างานวิจัยทั้งหมดนี้จะช่วยให้ทั้งหน่วยงานรัฐและประชาชนมีแหล่งสืบค้นข้อมูลยาที่ทันสมัย เข้าถึงได้ง่าย ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายด้านการใช้ยาที่ไม่จำเป็นหรือไม่ถูกต้อง เกิดการตรวจสอบย้อนกลับได้ของยา ลดขั้นตอนและระยะเวลาของคนไข้และบุคลากรทำให้ไม่ต้องไปโรงพยาบาลนานเป็นเวลาหลายชั่วโมงอีก เพิ่มประสิทธิภาพของระบบการจัดคลังยา ระบบการเบิกจ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพของระบบสารสนเทศในโรงพยาบาล การเพิ่มประสิทธิภาพของงานโดยใช้ระบบ Automation

 

National_Standard_Drug_Code

ดาวน์โหลดบทความการสร้างฐานรากของโซ่อุปทานสาธารณสุขประเทศไทย


http://goo.gl/ozECc

วันเสาร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2554

สัมภาษณ์พิเศษ: ‘พยุงศักดิ์-อุฬาร’เปิดศึกโต้วาทะปมร้อนแร่ใยหิน


 

สัมภาษณ์พิเศษ: 'พยุงศักดิ์-อุฬาร'เปิดศึกโต้วาทะปมร้อนแร่ใยหิน

 






ช่วงปลายปี 2553 คณะรัฐมนตรี (ครม.)ได้สั่งให้กระทรวงอุตสาหกรรม ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอดจนประชาชนที่มีส่วนได้เสีย หาข้อสรุปเรื่องการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทย ซึ่งตลอดระยะเวลาการทำข้อสรุป ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นจากประชาชนที่นำโดยเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค นักวิชาการ และผู้ประกอบการ ซึ่งแต่ละฝ่ายได้ออกมาเคลื่อนไหวพร้อมแสดงข้อมูลที่ต่างกันสิ้นเชิง
          ฝ่ายเครือข่ายองค์กรผู้บริโภคเข้ายื่นหนังสือต่อกระทรวงอุตสาหกรรม อ้างผลการศึกษาขององค์การอนามัยโลกว่าเป็นอันตราย เพราะเป็นสารก่อมะเร็ง หากสะสมในร่างกาย และเรียกร้อง 3 เรื่อง คือ 1.ห้ามนำเข้าวัตถุดิบแร่ใยหินและสินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบภายในระยะเวลา 3 เดือน 2.ห้ามผลิต จำหน่าย ส่งออก
          วัตถุดิบแร่ใยหินภายในระยะเวลา 6 เดือน และ3.ห้ามผลิต จำหน่าย ส่งออก สินค้าที่มีแร่ใยหินเป็นส่วนประกอบภายในระยะเวลา 1 ปีสอดคล้องกับความเห็นของสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่เรียกร้องให้เลิกใช้ประเทศไทย (ส.อ.ท.) ที่เรียกร้องให้เลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์เช่นกัน โดยพยายามทำหนังสือถึงกระทรวงอุตสาหกรรมตั้งแต่ปี 2550 ขอให้กระทรวงจัดให้แร่ดังกล่าวอยู่ในบัญชีวัตถุอันตราย ชนิด 4 คือ ห้ามผลิต จำหน่าย นำเข้าและครอบครอง
          ส่วนผู้ประกอบการที่มีความเห็นต่าง นำโดยบริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด ระบุว่า ตลอดระยะเวลานานกว่า 30 ปีที่มีการนำเข้าใยหินมาใช้ในอุตสาหกรรมในประเทศไทย ยังไม่เคยมีการรายงานผู้ป่วยด้วยโรคเหตุแร่ใยหินที่มีหลักฐานทางวิชาการที่น่าเชื่อถือยืนยันเลย โดยรวมตัวกับบริษัท กฤษณ์ไฟเบอร์ซีเมนต์ จำกัด บริษัทกระเบื้องหลังคาตราเพชร จำกัด (มหาชน) ส่งหนังสือถึงนายชัยวุฒิ บรรณวัฒน์ รัฐมนตรีว่า
          การกระทรวงอุตสาหกรรมเพื่อขอให้มีการใช้แร่ใยหินต่อ โดยอ้างผลการวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดลว่าการใช้สินค้าที่มีแร่ใยหินไม่เกิดอันตรายกับผู้บริโภค
          ล่าสุด วันที่ 12 เมษายนที่ผ่านมา ครม.เห็นชอบแนวทางแก้ปัญหาเรื่องแร่ใยหินตามข้อเสนอของกลุ่มสมัชชาสุขภาพ และกระทรวงอุตสาหกรรม โดยเลือกแนวทางห้ามนำเข้าแร่ใยหินมากรรม โดยเลือกแนวทางห้ามนำเข้าแร่ใยหินมาผลิตสินค้าที่ใช้วัตถุดิบอื่นทดแทนได้ แต่ยังนำเข้าหรือผลิตสินค้าที่มีความจำเป็นต้องใช้แร่ใยหินได้
          และสามารถกำหนดประเภทของโรงงานที่อนุญาตให้ใช้แร่ใยหินได้ แต่สินค้าบางชนิดอาจสูงขึ้น ซึ่งจะดำเนินการลดการใช้แร่ใยหินได้ภายใน 1 ปี
          แต่มติ ครม.ระบุเพิ่มเติมว่า แนวทางดังกล่าวจะบังคับใช้ภายหลังกระทรวงอุตสาหกรรม โดยตลท.ชี้เงินนอกเข้าไทยมากสุดกรมโรงงานอุตสาหกรรม (กรอ.) และกระทรวงที่เกี่ยวข้องจัดประชุมหารือเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากกลุ่มผู้ประกอบการที่ผลิตสินค้าที่มีการใช้แร่ใยหินและสารทดแทน รวบรวมข้อมูลสินค้าที่ใช้แร่ใยหินเป็นส่วนประกอบทั้งหมด และศึกษาแนวทางการใช้แร่ใยหินของต่างประเทศ
          ประเด็นนี้ไม่จบง่ายๆ แน่ เพราะกระทรวงอุตสาหกรรมยอมรับว่าข้อมูลสนับสนุนหลังจากนี้ต่างหากที่จะชี้นำว่า สถานะของแร่ใยหินไครโซไทล์ในประเทศไทยจะเป็นอย่างไรต่อไป
          "มติชน" ได้สัมภาษณ์นายพยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และนายอุฬาร เกรียวสกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด ซึ่งทั้ง 2 เป็นแกนหลักในการต่อต้านและสนับสนุนการใช้แร่ใยหิน เพื่อให้รับทราบเหตุผลของแต่ละฝ่ายอย่างชัดเจนตลท.ชี้เงินนอกเข้าไทยมากสุด
          อุฬาร เกรียวสกุล
          กรรมการผู้จัดการ บริษัท กระเบื้องโอฬาร จำกัด
          oจุดยืนของบริษัทต่อแร่ใยหินไครโซไทล์
          อยากให้ทำความเข้าใจก่อนว่า แร่ใยหินแบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ Anthibol ที่มีสารเคมีอันตราย 5 ชนิด เมื่อเข้าร่างกายจะตำเยื่อหุ้มปอด สาเหตุของโรคมะเร็ง และ Serpertine ที่มีสารไครโซไทล์ เข้าร่างกายแล้วย่อยสลายได้ทั้ง 2 กลุ่มไม่มีความเกี่ยวข้องทางโครงสร้างเคมี เปรียบเหมือนเห็ดมีพิษ กับเห็ดฟางนอกจากนี้ สมัชชาอนามัยโลก (WHA) ซึ่งใหญ่กว่าองค์การอนามัยโลก (WHO) มีมติเมื่อปี2550 ว่าไครโซไทล์สามารถใช้ได้ ไม่เป็นอันตราย ดังนั้น หากสำรวจการใช้ไครโซไทล์ในต่างประเทศจะพบว่า สหรัฐอเมริกาแคนาดา และญี่ปุ่น ยังอนุญาตให้ใช้อยู่ แต่มีเพียงสหภาพยุโรปที่ห้าม โดยระบุว่าไครโซไทล์เป็นกลุ่มเดียวกับสารเคมีอันตราย 5 ชนิด
          ด้วยข้อมูลทางวิชาการและข้อมูลต่างประเทศ บริษัทจึงยังยืนว่าไครโซไทล์มีความจำเป็นต่อประเทศไทย และไม่เป็นอันตรายต่อชีวิตแน่นอน และสัดส่วนการใช้เพียง 10% ต่อผลิตภัณฑ์ 1 ชิ้น เช่นเดียวกับวารสารทางการแพทย์ของ นายแพทย์สมชัย บวรกิตติ ราชบัณฑิต สำนักวิทยาศาสตร์ ราชบัณฑิตยสถานระบุว่าไครโซไทล์ใช้ในประเทศไทยมากว่า 70 ปี แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันว่าเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งoแต่กลุ่มสมัชชาสุขภาพและ ส.อ.ท.ต่อต้าน
          ที่ผ่านมากลุ่มที่ต่อต้านไม่เคยนำเสนอหลักฐานทางการแพทย์ได้เลย และเคยยอมรับว่าไม่พบผู้ป่วยโดยตรง แต่ออกมาต่อต้านเพราะความกลัว
          oเรื่องนี้จริงๆแล้วใครได้หรือเสียประโยชน์
          ในเชิงผลประโยชน์ แน่นอนบริษัทใหญ่รายหนึ่งที่พยายามผลักดันวัสดุทดแทนไครโซไทล์ต้องการให้ผลิตภัณฑ์ตัวเองขายดี และอยากครองตลาดทั้งหมด ดังนั้น จึงร่วมมือกับกลุ่มสมัชชาสุขภาพต่อต้าน ที่บอกว่าบริษัทนี้ได้ประโยชน์เพราะการใช้วัสดุทดแทน ซึ่งปัจจุบันมี 2 ชนิด คือ เยื่อกระดาษและใยสังเคราะห์พลาสติค มีราคาแพงกว่าไครโซไทล์2 เท่าตัว แต่ความคงทนน้อยกว่า 3 เท่าตัว ดังนั้น หากใช้วัสดุทดแทนครองตลาด จะเพิ่มยอดขายและยอดจำหน่ายอย่างมากoบริษัทจะดำเนินการอย่างไร เพราะครม.เห็นชอบแนวเลิกผลิตและนำเข้าไครโซไทล์บางชนิด และให้ลดการใช้ภายใน 1 ปี
          ระหว่างที่ ครม.พิจารณาเรื่องนี้มีมติที่แอบแฝงอย่างมาก เพราะกลุ่มสมัชชาสุขภาพรู้ดีว่าราคาวัสดุทดแทนสูงกว่าไครโซไทล์มากจึงเสนอ 2 ทาง คือ ให้ ครม.ใช้เงินภาษีประชาชนมาอุดหนุน เพื่อขายแก่ประชาชนในราคาถูก เปรียบแล้วก็เหมือนบริษัทใหญ่ล้วงเงินในกระเป๋ารัฐบาล ซึ่งเป็นของประชาชนเพื่อฆ่าบริษัทเล็ก หรือแนวทางลดภาษีให้ราคาถูกลง
          เวลานี้สิ่งที่บริษัททำได้คือ พยายามสื่อสารกับรัฐให้มีความรอบคอบในเรื่องนี้ ซึ่งหากกระทรวงอุตสาหกรรมใจกว้างพอ และตั้งคณะทำงานศึกษาที่เป็นนักวิทยาศาสตร์จริงๆ รวมทั้งศึกษาแนวทางของต่างประเทศอย่างจริงจังบริษัทจะเห็นด้วยอย่างยิ่ง เพราะอยากให้ประเทศตัดสินแร่ไครโซไทล์ด้วยข้อมูลทางวิทยาศาสตร์มากกว่าความรู้สึกแบบนี้
          พยุงศักดิ์ ชาติสุทธิผล
          ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.)
          oจุดยืนของ ส.อ.ท.ต่อแร่ใยหินไครโซไทล์แร่ใยหินถือเป็นวัตถุอันตราย ส่งผลเสียด้านสุขภาพ เท่าที่ทราบใช้ในอุตสาหกรรมหลายประเภท อาทิ หลังคา กระเบื้อง ฉนวนความร้อน และหลายประเทศที่พัฒนาเลิกใช้แล้ว โดยผลขององค์การอนามัยโลก(WHO) ระบุชัดว่ามีผลต่อสุขภาพ ซึ่งจุดยืนของ ส.อ.ท.ควรยกเลิกไปและใช้วัสดุอื่นมาแทน
          o เคยเสนอความเห็นไปยังรัฐบาลหรือไม่
          เมื่อ 4 ปีที่แล้ว สมัยที่เป็นรองประธานส.อ.ท.ได้หารือกับผู้ประกอบการจำนวนหนึ่งยื่นหนังสือเสนอให้ไทยเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ต่อกระทรวงอุตสาหกรรม เพราะผลการศึกษาจำนวนมากระบุว่าอันตราย โดยขอเวลาปรับตัวเป็นเวลา 5 ปี  เพื่อปรับเปลี่ยนเครื่องจักร และการลงทุน แต่ก็เข้าใจว่าเรื่องนี้ในไทยยังมีข้อถกเถียงอยู่ แต่ในเมื่อต่างประเทศยกเลิก ประเทศไทยก็ควรทำแบบนั้นด้วย
          oขณะนี้มีรายใดยกเลิกการใช้แร่ใยหินไครโซไทล์
          เท่าที่ทราบมีบริษัท กระเบื้องตลาดไทยหรือห้าห่วง กับเครือเอสซีจี แต่ขณะนี้มีบางบริษัทซึ่งเป็นสมาชิก ส.อ.ท.ยังไม่เลิก ซึ่งมติของ ส.อ.ท.ก็ชัดเจนว่าเลิกใช้แร่ใยหินไครโซไทล์ ถือเป็นสัญญาประชาคมว่า ผู้ประกอบการจะเลิกภายใน 5 ปี อย่างไรก็ตาม ผมคิดว่าการที่บางบริษัทต้องการใช้แร่ดังกล่าวอยู่เป็นเรื่องไม่ควร เพราะสภาวะปัจจุบันผู้ประกอบการสามารถปรับเปลี่ยนได้ เพราะมีวัสดุทดแทนอยู่แล้ว เช่น Cellulose fibers,p-aramid, Polyvinyl Alcohol (PVA) และPolyacrylonitrile(PAN) 3
          o เพราะอะไรผู้ประกอบการบางรายคัดค้าน
          ผมเชื่อว่าผู้ประกอบการบางรายที่ยังต้องการใช้แร่ดังกล่าวอยู่ เพราะเอ็นจอย(เพลิดเพลิน) เนื่องจากเป็นผู้ผลิตส่วนน้อยที่ครองตลาดผลิตภัณฑ์ที่ใช้แร่ใยหินไครโซไทล์oแร่ใยหินไครโซไทล์ควรถูกบรรจุในวัตถุอันตราย ชนิด 4 หรือไม่
          ถ้าควรเลิกก็ควรอยู่ในบัญชีวัตถุอันตรายชนิดที่ 4 คือ ไม่ควรมีอยู่ในไทยเลย เพราะเป็นเรื่องจำเป็นของประเทศ เป็นประโยชน์ต่อประชาชน ผู้ประกอบการต้องเห็นแก่ประโยชน์ประชาชน และต่างประเทศยกเลิกได้ ทำไมไทยจะทำไม่ได้

  • มติชน ฉบับวันที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2554
  • หน้า: 1 (บน), 7 Ad Value: 172,018 PRValue (x3): 516,054
  • 20110423_659_HA_Matichon

หมอพื้นบ้านรวมพลังแพทย์แผนไทย สธ.เตรียมตั้ง รพ.รักษาทางเลือกเหมือนจีน


Recommend Print

หมอพื้นบ้านรวมพลังแพทย์แผนไทย สธ.เตรียมตั้ง รพ.รักษาทางเลือกเหมือนจีน

วันเสาร์ที่ 06 สิงหาคม 2011 เวลา 18:03 น. เขียนโดย ศูนย์ข่าวเพื่อชุมชน หมวด การศึกษา-ระบบสุขภาพข่าว

ปลัดสาธารณสุขฯ เผยเร่งพัฒนาบริการแพทย์แผนไทยสู่ รพ.ในสังกัดจากเดิม 4 พันแห่ง ชี้ประชาชนนิยมสมุนไพรมากขึ้น คัดเลือก 9 แห่งนำร่องเตรียมเป็นโรงพยาบาลแพทย์ทางเลือก-ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะโรคเหมือนจีนปี 54

วันที่ 5 สค.54 นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) เป็นประธานเปิดงานรวมพลังการแพทย์แผนไทยภาคกลาง "สืบสานตำรายาหลวงปู่ศุข"ที่วัดปากคลองมะขามเฒ่า อ.วัดสิงห์ จ.ชัยนาท โดยกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกร่วมกับ 16 จังหวัดภาคกลางร่วมจัด โดยมีหมอพื้นบ้าน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจำนวนมาก

นพ.ไพจิตร์ กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข มีนโยบายส่งเสริมให้มีบริการงานแพทย์แผนไทย ผสมผสานควบคู่กับการแพทย์แผนปัจจุบัน ประกอบด้วยการตรวจรักษา จ่ายยาสมุนไพร และการนวด อบประคบสมุนไพรเพื่อบำบัดรักษาโรคต่างๆ ที่รักษาได้ด้วยการแพทย์แผนไทยในโรงพยาบาลทุกระดับปัจจุบันมี 10,516 แห่งทั่วประเทศ มีบุคลากรด้านการแพทย์แผนไทยประจำ ขณะนี้เปิดบริการแล้ว 4,379 แห่ง คิดเป็นร้อยละ 42 ของสถานบริการทั้งหมด ซึ่งจะเร่งรัดให้ครบทุกแห่ง

นอกจากนี้ได้สนับสนุนให้โรงพยาบาลทุกระดับใช้ยาสมุนไพร เพื่อรักษาผู้ป่วยทุกกลุ่มโรคทดแทนยาแผนปัจจุบัน ล่าสุดมียาแผนไทยที่บรรจุอยู่ในบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว 71 รายการ สามารถเบิกจ่ายได้ทุกสิทธิการรักษา จากข้อมูลการติดตามตรวจราชการในเขตต่างๆในปี 2553 พบมีการใช้ยาไทยในสถานบริการทุกระดับของกระทรวงสาธารณสุข 36 จังหวัด มีมูลค่าทั้งหมด 146 ล้านบาท จังหวัดที่ใช้สูงสุดคือชลบุรี 26 ล้านกว่าบาท รองลงมาสุรินทร์ 12 ล้านกว่าบาท ขอนแก่น 10 ล้านบาท

ปลัด สธ.กล่าวต่อว่า ในปี 2554 นี้ กระทรวงได้คัดเลือกโรงพยาบาลต้นแบบให้บริการผู้ป่วยด้วยการแพทย์แผนไทยเต็มรูปแบบครั้งแรกในประเทศ 9 แห่ง ได้แก่ 

รพ.พระปกเกล้า จ.จันทบุรี 

รพ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี 

รพ.วังน้ำเย็น จ.สระแก้ว 

รพ.วัฒนานคร จ.สระแก้ว 

รพ.ขุนหาญ จ.ศรีสะเกษ 

รพ.สมเด็จพระยุพราชเด่นชัย จ.แพร่ 

รพ.เทิง จ.เชียงราย 

รพ.ท่าโรงช้าง จ.สุราษฎร์ธานี

และสถาบันวิจัยการแพทย์แผนไทย กรมพัฒนาการแพทย์ไทยฯที่ยศเส กทม. จะติดตามประเมินผลเป็นระยะ หากได้รับการตอบรับจากประชาชนก็จะเปิดดำเนินการคล้ายประเทศจีนคือเป็นโรงพยาบาลให้บริการแพทย์แผนไทยโดยเฉพาะและพัฒนาเป็นศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะโรคต่อ ไป

สำหรับงานรวมพลังการแพทย์แผนไทย ภาคกลาง จัดขึ้นระหว่าง 5-7 ส.ค.54 ประกอบด้วยการประชุมวิชาการ การเสวนาสุขภาพวิถีไทย นิทรรศการสมุนไพร สาธิต บริการ ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ พื้นบ้าน อาทิ สืบสานตำรายาหลวงปู่ศุข เหยียบเหล็กไฟ จับเหล็กแดงรักษาอัมพฤกษ์อัมพาต จัดปรับกระดูกแบบมณีเวชและกดจุดหยุดปวด .

ที่มาภาพ  :   http://www.google.co.th/search?q=การแพทย์แผนไทย

http://goo.gl/ZdYwm

สำหรับงานรวมพลังการแพทย์แผนไทย ภาคกลาง จัดขึ้นระหว่าง 5-7 ส.ค.54 ประกอบด้วยการประชุมวิชาการ การเสวนาสุขภาพวิถีไทย นิทรรศการสมุนไพร สาธิต บริการ ให้คำแนะนำการดูแลสุขภาพด้วยภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ พื้นบ้าน อาทิ สืบสานตำรายาหลวงปู่ศุข เหยียบเหล็กไฟ จับเหล็กแดงรักษาอัมพฤกษ์อัมพาต จัดปรับกระดูกแบบมณีเวชและกดจุดหยุดปวด .

ที่มาภาพ  :   http://www.google.co.th/search?q=การแพทย์แผนไทย

http://goo.gl/ZdYwm