วันศุกร์ที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554

วิถีดูแลสุขภาพด้วยการกดจุดและฝังเข็ม


 
 
 วิถีดูแลสุขภาพด้วยการกดจุดและฝังเข็ม 
        442  3/17/2011 9:37:26 AM 

"วิถีดูแลสุขภาพด้วยการกดจุดและฝังเข็ม"

针灸防病与保健

โดยแพทย์จีน เฉินอวี๋เจี๋ย   陈宇杰医师  ( จากโรงพยาบาลแพทย์จีนหลงหัว  เซี่ยงไฮ้ )

วันจันทร์ ที่ 31 มกราคม พ.ศ.2554  เวลา 14.00-16.00 น. ณ อาคารแพทย์จีน ชั้น 8 คลินิกหัวเฉียวไทย-จีน

หัวข้อบรรยาย

1. ฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง ( Indications of acupuncture therapy )

2. จุดฝังเข็มที่ใช้บ่อยในการนวดกดจุดเพื่อรักษาและบำรุงสุขภาพ  常用保健穴位 /Therapeutic point massage )

ฝังเข็มรักษาโรคอะไรได้บ้าง  Indications of acupuncture therapy

WHO กำหนดไว้ว่า โรคที่รักษาด้วยวิธีฝังเข็มได้ มี 64 โรค แบ่งดังนี้  ( 64 Indications by  WHO )

1. โรคระบบทางเดินหายใจ (respiratory system/呼吸系统)

2. โรคระบบหมุนเวียนโลหิต (circulatory system /循环系统)

3. โรคระบบทางเดินอาหาร (digestive system/消化系统)

4. โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทสั่งการเคลื่อนไหว (Locomotor system/运动系统)

5. โรคระบบประสาท (Nervous system /神经系统)

6. โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์ (Urinary and reproductive systems/泌尿和生殖系统)

7. อื่นๆ

โรคทางระบบประสาท

-           อัมพาตใบหน้า( facial paralysis)   

-           อาการปวดจากเส้นประสาท trigeminal อักเสบ ( trigeminal neuralgia X )

-           ปวดศีรษะ ไมเกรน ปวดศีรษะจากความเครียด

-           อัมพาตครึ่งซีกจากเส้นเลือดในสมองตีบ หรือแตก( Hemiplegia Caused by Stroke )

-           นอนไม่หลับ( Insomnia) 

-           โรคน้ำในหูไม่เท่ากัน( Meniere′s disease)

      โรคที่เกี่ยวกับระบบประสาทสั่งการเคลื่อนไหว

       อาการปวดต่าง ๆ

-            ปวดหลัง ปวดขาจากเส้นประสาท sciatica ถูกกดทับ

-            โรคปวดเรื้อรัง chronic ache 

-           โรคปวดหลังการผ่าตัด pains of operation

โรคข้อ Joint disease

-           ปวดจากการบิดเคล็ด (sprain)

-           กล้ามเนื้อข้อไหล่อักเสบ( shoulder periarthritis )   

-           โรคปวดข้อศอก( tennis elbow)

-           โรคข้อกระดูกขากรรไกรทำงานผิดปกติ (temporomandibular joint diseases)

     โรคทางระบบทางเดินอาหาร

-           คลื่นไส้ ( nausea) อาเจียน ( vomiting )

-           สะอึก( hiccups)

-           ท้องผูก (constipation)

โรคทางระบบหายใจและระบบหมุนเวียนโลหิต

-           โรคหอบหืด( bronchial asthma)

-           โรคภูมิแพ้อากาศ(allergic rhinitis)

-           โรควิตกกังวล( Neurosis of heart)

-           ความดันสูง( hypertension)

     โรคทางระบบทางเดินปัสสาวะ และระบบสืบพันธุ์

-           โรคกลั้นปัสสาวะไม่อยู่( incontinence)

-           โรคปัสสาวะไม่ออก( urinary retention )

-           เป็นหมัน (Sterility)

-           ปวดประจำเดือน (Dysmenorrhosea0

-           ทารกในครรภ์อยู่ในตำแหน่งผิดปกติ (abnormal position of fetus)

อื่นๆ

-           ฝังเข็มเพื่องดเหล้า งดบุหรี่ เลิกยา

สรรพคุณ             1.ช่วยทำให้ผู้ที่เลิกบุหรี่ เหล้า หรือสิ่งเสพย์ติด  ไม่รู้สึกอยากจะเสพ

2.ช่วยขจัดอาการบางอย่างในช่วงที่กำลังเลิก เช่น อารมณ์หงุดหงิดรุ่มร้อนใจ,  สติไม่อยู่กับร่องกับรอย, ปวดหัว, ชอบง่วงนอน, กระเพาะลำไส้แปรปรวน, กระวนกระวาย เป็นต้น

การฝังเข็มรักษาเลือกใช้จุดเลิกบุหรี่ (戒烟穴), จุดนี้อยู่ตรงกลางระหว่าง จุดหยางซี (阳溪)กับจุดเลี่ยเช่ว(列缺), บริเวณที่กดแล้วบุ๋มลงไป,  สำหรับผู้ที่สูบบุหรี่จุดนี้จะกดแล้วเจ็บ  ซึ่งจุดเป็นจุดที่มีสรรพคุณในการกดความอยากบุหรี่เอาไว้.  ในการฝังครั้งหนึ่งอาจฝังข้างเดียว หรือฝังทั้งสองข้างก็ได้,  คาเข็มไว้นาน 15 นาที,  ฝังวันละครั้ง   4 ครั้งเป็น 1 คอร์สการรักษา.

การฝังเข็มหูรักษาเลือกใช้จุด ปาก(), เสินเหมิน(神门), ปอด(), กระเพาะ(), และจุดสมอง() เป็นต้น, ใช้เข็มขนาด0.5 ฝังแทงเข้าไปด้วยความเร็ว  กระตุ้นปานกลาง  โดยแต่ละครั้งที่ฝัง ให้คาเข็มไว้ 15 นาที,  อาทิตย์ละ 3 ครั้ง  10 ครั้ง เป็น 1 คอร์สการรักษา.   หรืออาจจะใช้เข็มหู หรือเม็ดผักกาดฝังติดไว้ที่จุดฝังเข็มหู  พร้อมด้วยเอาเทปกาวแปะติดให้แน่น  โดยแต่ละครั้งให้ฝังสลับข้างกันไป  ติดไว้นาน 4-6วัน, โดยต้องบอกให้ผู้ป่วยกดนวดทุกวัน วันละ 3 ครั้ง  หรือกดนวดเวลาที่รู้สึกอยากสูบ.  

การกระตุ้นไฟฟ้ารักษาเลือกใช้ที่จุด เหอกู่(合谷) หรือ จู๋ซานหลี่(足三里) ทั้งสองข้าง,  หลังจากที่ฝังเข็มลงไปแล้วให้ใช้เครื่องกระตุ้นไฟฟ้า  เลือกแบบส่งกระแสต่อเนื่อง ทิ้งไว้นาน 15 นาที, ส่วนความแรงตามแต่ผู้ป่วยแต่ละคนจะรับได้,   แต่ละครั้งให้เลือกเพียงจุดเดียว   ทำวันละ 1 ครั้ง โดยเลือกใช้จุดสลับกันไป, 10 ครั้ง เป็น 1 คอร์สการรักษา.

 

จุดฝังเข็มที่ใช้บ่อยในการนวดกดจุด  常用保健穴位 / Therapeutic point massage)

1. 足三里จู๋ซานหลี่ Zu san li ST 36 (Stomach meridian of foot-yangming )

ตำแหน่ง : It is on the lateral side of the shank,3 cun below DubiST35), one fingerbreadth(midfinger) from the anterior crest of the tibia, in m. tibialis anterior.

                เป็นจุด ที่ใช้สำหรับสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายทั้งหมด มักใช้วิธีรมยาเพื่อเสริมภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง, ช่วยปรับการทำงานระบบทางเดินอาหาร, เสริมม้ามปรับกระเพาะ, บำรุงชี่, บำรุงเลือดสร้างจิน, ให้ลมปราณไหลเวียน, ปรับสมดุลหยินหยาง

ถือเป็นจุดหลักในการรักษาโรคในระบบทางเดินอาหาร เช่น ปวดกระเพาะ อาเจียน ท้องอืด ท้องเสีย ท้องผูก โรคตาลขโมย เป็นต้น

            งานวิจัยจุดฝังเข็ม

                นอกจากจะเป็นจุดที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบทางเดินอาหารแล้ว  ไม่นานมานี้ยังพบว่าจุดจู๋ซานหลี่ยังมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับระบบภูมิคุ้มกันอีกด้วย  สามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย  เพิ่มประสิทธิภาพของภูมิคุ้มกัน.  จู๋ซานหลี่ยังเป็นจุดที่สามารถช่วยลดความดัน ลดน้ำตาล และลดไขมัน ในผู้สูงอายุได้อีกด้วย.

2.神阙เสินเช่ว  Shen que  CV8  (Conception vessel )

            เสินเช่ว มีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ฉีจง(脐中)  เป็นจุดจิง บนเส้นลมปราณเริ่นม่าย.  เสินเช่วยังเป็นจุดแห่งรากของชีวิต,  เป็นบริเวณที่หยินและหยางบริสุทธิ์มาอยู่รวมกัน, เป็นบริเวณของตันเถียนในทางแพทย์จีน.  หมอชาวบ้านในสมัยก่อนให้ความสำคัญในการรมยาที่จุดเสินเช่วมาก, โดยเห็นว่าเป็นการรมยาเพื่อสุขภาพ "ลมปราณแข็งแกร่ง, โรคภัยไม่มี", "รมยารักษา,อายุยืนยาว". 

ตำแหน่ง  :  This acupoint is located on the center of the abdomen and the umbilicus in supine position.

สรรพคุณ อบอุ่นหยาง ช่วยเหนี่ยวรั้ง,  เสริมการทำงานม้ามกระเพาะ

                รักษาอาการที่สูญเสียหยางออกจากร่างกาย ในผู้ที่เป็นอัมพาต, 

                โรคเกี่ยวกับลำไส้ช่องท้อง ประเภทม้ามกระเพาะเย็นพร่อง แล้วทำให้มีอาการ ปวดท้อง  ท้องอืด ท้องเสีย ลำไส้ตรงยื่น, และท้องผูก เป็นต้น

                ผู้หญิงหลังคลอดสามารถใช้วิธีรมยาที่จุดเสินเช่ว เพื่อช่วยกระชับมดลูก  และขับเลือดที่คั่งอยู่ภายในออกมา

                อาจใช้โกฐจุฬาลัมพารมยาชนิดแท่ง หรือใช้แผ่นขิงรอง ,ใช้เกลือรองไว้เวลารมยา.

 3三阴交ซานอินเจียว San yin jiao sp6 (Spleen meridian of foot-taiyin )

ตำแหน่ง  : The acupoint is located on the medial side of the shank, 3 cun directly above the tip of the medial malleolus, on the posterior border of the medial aspect of the tibia.

สรรพคุณ เป็นจุดที่เส้นลมปราณตับ ม้าม และ ไตมาอยู่รวมกัน(交会穴),  จึงมีสรรพคุณในการ เสริมม้ามปรับกระเพาะ,  ปรับลมปราณขับความชื้น,  ระบายตับสลายติดขัด, บำรุงไตเสริมจิง

                รักษาด้านสูตินารีเวช : ประจำเดือนไม่สม่ำเสมอ, ตกขาว, ไม่มีประจำเดือน, ประจำเดือนมามากเกินไป, อาการเวียนศรีษะหลังคลอด, น้ำคาวปลาไม่ไหล, ปวดประจำเดือน

4.内关เน่ยกวน Nei guanPC6 (Spleen meridian of foot-taiyin)

ตำแหน่ง  : 2 cun above the transverse crease of the wrist, between the tendons of m.palmaris longus and m.flexor carpi radialis.

สรรพคุณ  รักษาโรคระบบหลอดเลือดหัวใจ: อาการปวดหัวใจ, ใจสั่น, มีผลต่ออัตราการเต้นของหัวใจทั้งสองทาง คือ สามารถเพิ่มหรือลดอัตราการเต้นของหัวใจก็ได้

                รักษาโรคระบบทางเดินอาหาร: ปวดกระเพาะ, อาเจียน, สะอึก (ผลการวิจัยพบว่ามีสรรพคุณยับยั้งการหลั่งกรดในกระเพาะอาหาร)

                รักษาโรคระบบประสาท: นอนไม่หลับ, เวียนหัว, ปวดศีรษะไมเกรน

5. 合谷เหอกู่  He gu LI4

ตำแหน่ง: It is on the dorsum of the hand, between the first and second metacarpal bones, approximately in the middle of the second metacarpal bone on the radial side.

สรรพคุณ : 

                "面口合谷收" โรคบริเวณศีรษะและใบหน้าทั้งหมด เช่น ปวดหัว,ปวดฟันล่าง

                จุดสำคัญในการ ระงับปวด  ระงับประสาท

6. 涌泉หย่งเฉวียนKI1(Kidney meridian of foot-shaoyin)

ตำแหน่ง: On the sole and in the depression when the foot is in plantar flexion, in the anterior depression when the foot is flexed, approximately at the junction of the anterior one third and posterior to thirds of the sole.

สรรพคุณ :  รักษา ความดันโลหิตสูง,ปวดศีรษะ,ท้องผูก     

 

 

 

 

 

 

 
หน้าหลัก | ประวัติ | คณะแพทย์ | ความรู้สุขภาพ | ติดต่อเรา | กระดานถามตอบ |
@ Copyright 2007 HUA CHIEW (TCM) HOSPITAL 
1332 ถนนกรุงเกษม เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร 10100 โทรศัพท์ 02-223-1111, โทรสาร 02-223-1251


 http://www.huachiewtcm.com/popuparticle.aspx?TopicID=17

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น