วันพุธที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2554

โรครองช้ำ เจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า

โรครองช้ำ เจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า


การเจ็บส้นเท้าหรือผ่าเท้านั้นอาจจะมีได้จากหลายสาเหตุ สิ่งหนึ่งก็คือการเจ็บส้นเท้า/ผ่าเท้าที่เกิดจากเส็นเอ็นใต้ผ่าเท้าอักเสบหรือฉีกขาด

สาเหตุของการเจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า
เป็นการอักเสบของเส้นเอ็น (Plantar fascia) ที่เชื่อมต่อระหว่างส้นเท้ามาที่ส่วนโค้งถึงฝ่าเท้า 





ผู้ป่วยจะมีอาการปวดส้นเท้าตรงด้านล่างของเท้า โดยที่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับผู้ใหญ่ช่วงวัยกลางคนทั้งผู้หญิงและผู้ชาย เนื่องจากเส้นเอ็นจะมีความยืดหยุ่นน้อยลง และแผ่นไขมันที่ช่วยรองรับส้นเท้าบางลงนั้นเอง 

ส่วนปัจจัยเสี่ยงอื่นๆที่ทำให้เป็นโรคนี้คือ
• ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมากเกิน และผู้ที่เป็นโรคอ้วน
• ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน
• พวกนักวิ่ง หรือผู้ที่ต้องใช้เท้ามากๆ
• ผู้ที่เป็นโรคเท้าแบน หรือว่าผู้ที่มีส่วนโค้งของเท้ามาก
• หรือการใส่รองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า

อาการของการเจ็บส้นเท้า/ฝ่าเท้า
ผู้ป่วยจะมีอาการปวดส้นเท้า หรือส่วนโค้งของเท้า และจะมีลักษณะเจ็บคล้ายๆกับมีของแหลมมาทิ่ม กล้ามเนื้อน่องจะมีอาการเกร็ง อาการจะเป็นมากในตอนเช้าหลังจากที่ตื่นนอน และจะเริ่มดีขึ้นเมื่อมีการบริหารฝ่าเท้า หรือบางครั้งอาการปวดจะมีขึ้นเมื่อยืนนานๆ ในกรณีที่เป็นมาก ผู้ป่วยจะมีอาการปวดตลอดทั้งวัน

การวินิจฉัยโรค
ผู้ป่วยจะถูกให้ยืนและเดินเพื่อที่จะตรวจสอบลักษณะของเท้า พร้อมกับที่ผู้ป่วยจะถูกซักประวัติทางสุขภาพต่างๆ, กิจกรรมการออกกำลังกาย, ประวัติการเจ็บป่วย, ช่วงเวลาของการปวดเท้าเช้าหรือเย็นหรือตลอดเวลา

การป้องกันและการรักษา
โรคนี้ไม่ถึงกับเป็นอันตรายถึงชีวิต แต่ก็ควรได้รับการรักษาเนื่องจากกระทบการเทือนต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย การรักษาสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการ แต่ทั้งนี้ไม่มีวิธีไหนที่ดีที่สุดสำหรับการรักษาโรคนี้ ผู้ป่วยอาจจะต้องหายๆวิธีรวมกันดังนี้

• การพัก
หยุดกิจกรรมที่ต้องทำการใช้เท้านานๆ สามารถที่จะช่วยให้ผู้ป่วยหายจากอาการปวดนี้ได้ รวมไปถึงการวิเคราะห์ถึงสภาพกิจกรรมหรือร่างกายที่ผ่านมาว่า มีส่วนทำให้เป็นโรคนี้ได้หรือไม่เช่นน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้น หรือการฝึกวิ่งที่หักโหมมากเกินไป

• ใช้ Ice Packs 



เป็นการใช้ความเย็นช่วยในการรักษาการอักเสบของเส้นเอ็น โดยนำ Ice packs เข้าไปประคบฝ่าเท้าหลังการทำกิจกรรมการยืดกล้ามเนื้อ เป็นเวลา 10-15 นาที

• ทำการยืดกล้ามเนื้อ และออกกำลังกายส่วนเท้า

การออกกำลังกายจะช่วยบรรเทาอาการรองช้ำได้ ซึ่งจะแบ่งออกเป็น 2 อย่างก็คือ

1. การยืดกล้ามเนื้อ ซึ่งจะเป็นการยืด plantar fascia ligament และเส้นเอ็นร้อยหวาย (Achilles tendon)
2. การทำให้กล้ามเนื้อส่วนเท้าและข้อเท้าแข็งแรงขึ้น

ข้อแนะนำ: การออกกำล้งการบางอย่างทำให้อาการรองช้ำนี้เป็นมากขึ้น เช่นการวิ่ง เนื่องจากว่าเป็นการเคลื่อนไหวที่มีแรงไปกระทำกับบริเวณเท้าอย่างต่อเนื่องนานๆ ทำให้ plantar fascia ligament ยังคงอักเสบอยู่นั้นเอง

ตัวอย่างของการยืดกล้ามเนื้อและการเพิ่มความแข็งแรงของกล้ามเนื้อมีตามข้างล่างนี้

ออกแรงดันกำแพงโดยที่ขาข้างที่ต้องการที่จะทำการยืดอยู่ด้านหลัง ให้ขาอีกข้างหนึ่งที่อยู่ด้านหน้างอ โดยที่ให้ส้นเท้าทั้ง 2 ข้างอยู่บนพื้น



ยืนด้วยฝ่าเท้าโดยให้ปลายเท้าอยู่บนบันไดขั้นที่สูงกว่า และพยายามนำส้นเท้ายืดลงด้านล่างของขั้นบันได้ให้ได้มากที่สุด



ใช้ผ้าหนาๆสอดไปใต้ฝ่าเท้าในท่าที่นั่งยืดขา ค่อยๆดึงผ้าจนกระทั่งรู้สึกตึงๆฝ่าเท้า



การทำการยืดนี้จะมีทั้งการยืดเส้นเอ็น plantar fascia(ดูจากรูปแรก) และทั้งการยืดกล้ามเนื้อน่อง มีงานวิจัย (Journal of orthopaedic and sports physical therapy, april 2008) ออกมาว่าการยืดเหล่านี้จะเป็นการช่วยทำการอาการปวดทุเลาลงไปได้ในเวลา 2-4 เดือน อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อน่องอีกด้วย

การยืดกล้ามเนื้อนี้สามารถทำได้ 3 นาทีต่อครั้ง เป็นเวลา 3 ครั้งใน 1 วัน หรือว่าจะเป็น ครั้งละ 20 วินาทีทำ 5 ยก ทำวันละ 2 ครั้งก็ได้

• ใช้แผ่นรองรองเท้า 

 


การใช้แผ่นรองรองเท้าที่ดีนั้นจะช่วยลดแรงกระแทกที่ฝ่าเท้ากระทำกับเข้ากับพื้นรองเท้า ในกรณีที่ใช้แผ่นรองรองเท้าที่ทำแค่เฉพาะเท้าของผู้ป่วยนั้น ก็จะยิ่งช่วยลดแรงกระแทกได้

การใช้แผ่นรองรองเท้านี้จะสามารถช่วยอาการปวดให้ทุเลาลงได้ภายใน 3 เดือน แต่ทั้งนี้ยังไม่มีหลักฐานทางการแพทย์ที่สำหรับการใช้แผ่นรองรองเท้านี้ ว่าสามารถจัดการกับอาการปวดได้ในระยะยาว (Journal of orthopaedic & sports physical therapy, april 2008)


ถ้าวิธีข้างต้นยังไม่สามารถที่จะทำให้อาการปวดส้นเท้าหายไปได้ แพทย์อาจจะแนะนำให้ใช้วิธีดังต่อไปนี้
• ใช้ Night Splints



เป็นอุปกรณ์ที่ช่วยให้เท้าของผู้ป่วยอยู่ในตำแหน่งปรกติในเวลานอน และจะทำให้ช่วยขบวนการในการ
รักษาตัวเองของเส้นเอ็น เป็นไปได้เร็วขึ้น และเมื่อผู้ป่วยตื่นขึ้นในตอนเช้าจะช่วยลดความเจ็บปวด
ของส้นเท้าลง แต่ว่าผู้ป่วยจะรู้สึกอึดอัดเวลานอนเมื่อใช้ Night Splints เนื่องจากมีลักษณะที่เทอะทะ

ควรพิจารณาในการเลือกใช้ Night Splints ว่าผู้ป่วยควรจะมีอาการมามากกว่า 6 เดือนแล้ว สำหรับระยะเวลาในการใส่ก็ประมาณ 1-3 เดือน ชนิดของ Night Splints นี้ยังไม่ปรากฏรายงานว่าอันได้ดีกว่ากัน

• ฉีด corticosteroids
เป็นการใช้ยารักษาการอักเสบของเส้นเอ็น (Anti-inflammatory agents) แต่วิธีนี้ขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์
• ใช้ Iontophoresis
เป็นการใช้ไฟฟ้าที่แรงดันต่ำเข้าไปกระตุ้นที่เนื้อเยื่อ

• ฝ่าตัด 
การฝ่าตัดจะถูกใช้เมื่อผู้ป่วยได้รับการรักษาด้วยวิธีอื่นๆแล้ว แต่ว่าอาการปวดก็ยังคงอยู่ แต่วิธีนี้ไม่ค่อย
จะนำมาใช้ในการรักษาเท่าไหร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับอาการ และคำวินิจฉัยของแพทย์

ทำอย่างไรไม่ให้อาการปวดกลับมา
• ดูแลไม่ให้มีน้ำหนักตัวมากเกินไป
• พยายามไม่ใช้ขามากเกินไป หรือว่าต้องอยู่ในความดูแลของผู้เชี่ยวชาญ
• ใช้รองเท้าที่พอดีกับเท้า และใช้แผ่นรองรองเท้า



หมายเหตุจากผู้เขียน

หลังจากที่ผมได้เขียน topic นี้เอาไว้ใน blog นานพอสมควรแล้ว ตอนแรกก็คิดว่าจะไม่ค่อยมีใครสนใจอ่านเท่าไหร่ แต่ในทางกลับกันนั้นผมได้พบว่ามีคนเป็นโรครองช้ำนี้อยู่มากทีเดียว ผมจึงได้ตัดสินใจที่จะ update blog อันนี้ไปเรื่อยๆเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ทันสมัยอ และเพื่อเป็นประโยชน์กับผู้ที่เป็นโรคนี้

สำหรับผู้อ่านที่มีวิธีการรักษา หรือรู้จักคลีนิคดีๆ หรือว่าอุปกรณ์ใดๆก็ตาม สามารถที่จะ post ลงได้ครับ ทั้งนี้สำหรับผู้อ่านขอให้ใช้วิจารณญาณเองก็แล้วกัน ผมไม่มีส่วนได้ส่วนเสียด้วยทั้งสิ้น

และสำหรับบางท่านที่ต้องการให้วินิจฉัยอาการทางนั้น ผมจะขอบอกว่ามันออกจะยากเกินไปนิดหนึ่ง ผมขอแนะนำว่าให้ไปปรึกษาแพทย์โดยตรงดีกว่า เพราะว่าโรคนี้อาการมันไม่ใช่แค่เขียนเล่าแล้วจะบอกได้ว่าเป็นหรือไม่ครับ

ขอเป็นกำลังใจในผู้ป่วยทุกท่านหายไวๆ นะครับ





เรื่องที่เกี่ยวข้องกับเท้าอื่นๆ

โครงสร้างของเท้า


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=radioarms&month=28-03-2007&group=11&gblog=1


เจ็บเอ้นร้อยหวาย


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=radioarms&month=29-03-2007&group=11&gblog=2


เท้าแบน


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=radioarms&month=30-03-2007&group=11&gblog=3


นิ้วหัวแม่เท้าเอียง


http://www.bloggang.com/mainblog.php?id=radioarms&month=11-04-2007&group=11&gblog=5





Create Date : 06 เมษายน 2550
Last Update : 13 มีนาคม 2552 21:33:48 น.

http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=radioarms&date=06-04-2007&group=11&gblog=4

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น