วันอังคารที่ 12 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

'สไกป์' เชื่อมสัมพันธ์ ไมโครซอฟท์-เฟซบุ๊ก

'สไกป์' เชื่อมสัมพันธ์ ไมโครซอฟท์-เฟซบุ๊ก
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์11 กรกฎาคม 2554 11:55 น.
คลิกที่ภาพเพื่อดูขนาดใหญ่ขึ้น
มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ซีอีโอเฟซบุ๊ก - โทนี เบตส์ ซีอีโอสไกป์
ถือเป็นก้าวแรกของความร่วมมือระหว่าง 2 ยักษ์ใหญ่ไอทีในปัจจุบันอย่างเฟซบุ๊ก และไมโครซอฟท์ ที่ล่าสุดเฟซบุ๊กได้มีการเพิ่มฟีเจอร์อย่างวิดีโอคอล กับพันธมิตรอย่างสไกป์ ซึ่งเพิ่งถูกไมโครซอฟท์ซื้อไปเมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา
       
       มาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก (Mark Zuckerberg) ซีอีโอและผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ก ให้สัมภาษณ์กับดิจิตอลเทรนด์ว่า การร่วมมือกับสไกป์ซึ่งมีบริษัทน่าเชื่อถืออย่างไมโครซอฟท์หนุนหลังอยู่นั้น จะช่วยให้เฟซบุ๊กสามารถก้าวข้ามคู่แข่งหลักอย่างกูเกิลไปได้
       
       จุดนี้ทำให้ไมโครซอฟท์ ที่ทำข้อตกลงในการเข้าควบรวมกิจการของสไกป์ไว้ที่ 8.5 พันล้านเหรียญนั้น ส่วนหนึ่งถือเป็นการลงทุนเพื่อที่จะเข้าถึงฐานลูกค้าเฟซบุ๊กกว่า 750 ล้านราย และเมื่อมีการสานสัมพันธ์เกิดขึ้นแล้ว ไมโครซอฟท์ยังสามารถนำเสนอบริการต่างๆบนระบบคลาวด์เข้าไปยังเฟซบุ๊ก เพื่อสร้างความร่วมมือต่อไป
       
       นักวิเคราะห์มองว่า ความร่วมมือระหว่างไมโครซอฟท์ และเฟซบุ๊กที่จะเกิดขึ้นในอนาคต อาจมีมากถึง 5 แนวทางด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็น 
1. การนำโซเชียลเน็ตเวิร์กเข้าไปทำตลาดในองค์กรที่ไมโครซอฟท์เองมีตลาดอยู่แล้ว
2. การนำเสิร์ชเอนจินอย่าง บิงก์ (Bing) ผูกเข้ากับเฟซบุ๊กเพื่ออำนวยความสะดวกในการค้นหา

       
3.เฟซบุ๊กจะสามารถประยุกต์เทคโนโลยีเว็บแอปฯ ของไมโครซอฟท์ สำหรับการจัดการไฟล์เอกสารต่างๆ ที่ให้บริการในระบบคลาวด์
4.ไมโครซอฟท์มีภาพยนตร์และเพลงในระบบที่พร้อมให้บริการ แต่ขาดความน่าเชื่อถือในการเข้าถึง จุดนี้เมื่อร่วมมือกับเฟซบุ๊กจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเข้าถึงคอนเทนต์เหล่านี้ได้ง่ายขึ้น
5.เกมคือสิ่งที่จะช่วยเชื่อมความสัมพันธ์ของเฟซบุ๊กและไมโครซอฟท์ เนื่องจากทั้งคู่ให้ความสำคัญกับเกมเช่นเดียวกัน

       
       ทั้งนี้ การเปิดตัวฟีเจอร์ใหม่ของเฟซบุ๊กประกอบไปด้วยการปรับหน้าเว็บไซต์ใหม่ เพิ่มการใช้งานวิดีโอคอล ระหว่างผู้ใช้งานเฟซบุ๊กด้วยกันเอง และการสนทนาแบบกลุ่ม ซึ่งถือว่าเป็นการก้าวตามฟีเจอร์ของเครือข่ายสังคมเกิดใหม่อย่าง กูเกิลพลัส (Google+) ที่เปิดให้กลุ่มผู้ใช้ที่มีสิทธิเข้าไปทดลองใช้งาน
       
       Company Related Link :
       Skype
http://www.manager.co.th/CyberBiz/ViewNews.aspx?NewsID=9540000084918
 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น